วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การอบรม OTOP Mini MBA ที่ กศน.ขุขันธ์ ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.- 4 ก.ย. 2556


ขอบคุณภาพถ่าย : Daorong Saekow [online].แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=567883763275608&set=pcb.567883876608930&type=1&theater,3 กันยายน 2556.

สิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้ ในศูนย์ฝึกอาชีพของเรา

ทดสอบการอัพเดท..ครับ
 ทด

คณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

    ๑. นายอำเภอขุขันธ์                                             ประธานกรรมการ
    ๒. พัฒนาการอำเภอขุขันธ์                                     กรรมการ
    ๓. เกษตรอำเภอขุขันธ์                                            กรรมการ
    ๔. สาธาณสุขอำเภอขุขันธ์                                      กรรมการ
    ๕. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาอุด                    กรรมการ
    ๖. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่                กรรมการ
    ๗. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสำราญ            กรรมการ
    ๘. กำนันตำบลโคกเพชร                                          กรรมการ
    ๙. คณะกรรมการสถานศึกษา กศน.อำเภอขุขันธ์         กรรมการ
    ๑๐. ประธานกลุ่มสตรีอำเภอขุขันธ์                             กรรมการ
    ๑๑. ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอขุขันธ์    กรรมการ
    ๑๒. นายเด่นชัย  ดอกพอง                                       กรรมการ
    ๑๓. นางทศ  ธรรมะ                                                 กรรมการ
    ๑๔. ผอ.กศน.อำเภอขุขันธ์                                       กรรมการและเลขานุการ
    ๑๕. นางสาววิลัย  ปรางมาศ                                     กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
    ๑. สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการศึกษาอาชีพ
        ของคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชุน
    ๒. วิเคราะห์  พิจารณาแผนการจัดการศึกษาอาชีพ
        เพื่อการมีงานทำ
    ๓. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน
        เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่มอบหมาย
    ๔. ให้คำปรึกษาแนะนำ  และข้อเสนอแนะในการจัด
        การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
    ๕. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือระหว่าง
        ภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาคประชาสังคมและองค์กร
        ปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษาอาชีพ
        เพื่อการมีงานทำ
    ๖. นิเทศ  ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผน
        การจัดการศึกษาอาชีพ

โครงสร้างการบริหารจัดการศูนย์ฝึกอาชีพชมชน(ศฝอช.)

ที่มา : ศึกษาธิการ,สำนักงานปลัดกระทรวง.สำนัก กศน.แนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : รังษีการพิมพ์,2555.

ภารกิจของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

1. เป็นศูนย์แนะแนวอาชีพของชุมชน
2. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการฝึกการปฏิบัติของผู้เรียนและประชาชนที่สนใจในการประกอบอาชีพ
3. เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และการดำเนินงาน
4. เป็นศูนย์กลางการแสดงผลงาน การฝึกประกอบอาชีพ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลงานของผู้เรียน
5. เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพของชุมชน

แนวนโยบายและยุทธศาสตร์

        การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสาคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคลเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕   ภายใต้กรอบเวลา ๒ ปี ที่จะพัฒนา ๕ ศักยภาพของพื้นที่ใน ๕ กลุ่มอาชีพใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ใน ๕ ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทันเพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” และได้กำหนดภารกิจว่า จะพัฒนายกระดับและจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคั่ง และมั่นคงเพื่อเป็นบุคลากรที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเองผู้อื่นและสังคม โดยคานึงถึงศักยภาพและบริบทรอบ ๆ ตัวผู้เรียน พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมอารยประเทศ ด้วยการบริหารจัดการเทคโนโลยีสมัยใหม่มุ่งเป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทำงานให้บุคลากรไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากลภายใต้ศักยภาพ ๕ ด้าน ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่นอกจากนั้นยังได้กำหนดหลักสูตรออกเป็น ๕ กลุ่มอาชีพ ได้แก่
๑. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านเกษตรกรรม
๒. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านอุตสาหกรรม
๓. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านพาณิชยกรรม
๔. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์
๕. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง
    สานักงาน กศน.อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้นำนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวสู่การปฏิบัติ เพื่อจัดการศึกษาพัฒนาอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนมีรายได้และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากลโดยจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทั่วประเทศซึ่งการดาเนินการดังกล่าวจะทำการจัดการศึกษาของประเทศ และของสานักงาน กศน. เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ และจะทำให้การจัดการศึกษาของประเทศเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างแท้จริง

เปิดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน : OTOP Mini MBA(ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๑๓๕/๒๕๕๕)


ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (OTOP Mini MBA) เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมีคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัด ผู้บริหารสำนักงาน กศน.จังหวัด ผู้บริหารหน่วยงาน/สถานศึกษาขึ้นตรง ผู้บริหาร กศน.อำเภอ/เขต หัวหน้า กศน.ตำบล ครูอาสาสมัคร กศน. ครู ศรช. และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า ๑๐,๐๐๐ คน

รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดย กศน.ยึดหลักการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อคุณภาพการศึกษาของคนไทย” ที่กำหนดให้การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของสังคมไทย และเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะยกระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะอาชีพของประชาชน และนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งการเรียนรู้
จึงได้จัดทำโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุนชน หรือ OTOP Mini MBA ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัด ผู้บริหาร กศน.จังหวัด/อำเภอ/เขต/ตำบล ครูอาสาสมัคร กศน. ครู ศรช. และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ชี้แจงการนำแนวนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนรวมไปถึงการบูรณาการนโยบายการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ของรัฐบาล ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น OTOP Mini MBA ให้แก่ผู้ลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP และประชาสัมพันธ์ให้สังคมและประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาอาชีพของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของสำนักงาน กศน. ในการที่จะส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย ได้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้อย่างมั่นคง
การดำเนินการตามโครงการ ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัด โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในเบื้องต้น กศน.ได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น OTOP Mini MBA ให้แก่ผู้ลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อขยายโอกาสในการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการบริการ รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการจำหน่ายและการส่งออก



นอกจากนี้ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ได้กำหนดจัดการศึกษาให้กับประชาชนในหลักสูตรบริหารธุรกิจระยะสั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยรายวิชาหลัก ได้แก่ การบริหารจัดการธุรกิจสินค้า OTOP, ธุรกิจ OTOP ส่งออก, การตลาดและช่องทางการจำหน่าย และภาษาอังกฤษธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้ด้านการเงิน การบัญชี การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต การบริหารบุคคล เมื่อจบหลักสูตรประชาชนก็จะสามารถทำธุรกิจได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐานความรู้ด้านการขาย การตลาด สามารถคำนวณต้นทุน ค่าแรง ดอกเบี้ย สามารถคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ได้ด้วยตนเอง ขายสินค้า หาตลาดทั้งในและต่างประเทศได้เอง และไม่จำเป็นต้องขายสินค้าครั้งละมากๆ ในราคาที่ถูกอีกต่อไป
เมื่อผ่านหลักสูตร ศธ.จะสนับสนุน อุปกรณ์/เครื่องมือในการประกอบอาชีพให้ด้วย ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้เลย ทำให้ประชาชนมีรายได้ มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประเทศได้รับการพัฒนาต่อไป
นวรัตน์ รามสูต
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
ขอบคุณที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 135/2555 .[ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/websm/2012/may/135.html. 3 กันยายน  2556.