วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวนโยบายและยุทธศาสตร์

        การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสาคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคลเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ ๒๕๕๕   ภายใต้กรอบเวลา ๒ ปี ที่จะพัฒนา ๕ ศักยภาพของพื้นที่ใน ๕ กลุ่มอาชีพใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ใน ๕ ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทันเพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” และได้กำหนดภารกิจว่า จะพัฒนายกระดับและจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคั่ง และมั่นคงเพื่อเป็นบุคลากรที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเองผู้อื่นและสังคม โดยคานึงถึงศักยภาพและบริบทรอบ ๆ ตัวผู้เรียน พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมอารยประเทศ ด้วยการบริหารจัดการเทคโนโลยีสมัยใหม่มุ่งเป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทำงานให้บุคลากรไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากลภายใต้ศักยภาพ ๕ ด้าน ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่นอกจากนั้นยังได้กำหนดหลักสูตรออกเป็น ๕ กลุ่มอาชีพ ได้แก่
๑. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านเกษตรกรรม
๒. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านอุตสาหกรรม
๓. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านพาณิชยกรรม
๔. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์
๕. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง
    สานักงาน กศน.อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้นำนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวสู่การปฏิบัติ เพื่อจัดการศึกษาพัฒนาอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนมีรายได้และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากลโดยจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทั่วประเทศซึ่งการดาเนินการดังกล่าวจะทำการจัดการศึกษาของประเทศ และของสานักงาน กศน. เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ และจะทำให้การจัดการศึกษาของประเทศเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น